มาตรฐานเครื่องยนต์ดีเซลขับเคลื่อนเครื่องสูบนํ้าดับเพลิง
คุณลักษณะผลิตภัณฑ์
· เครื่องยนต์ที่ใช้ในการขับเครื่องสูบน้ำดับเพลิงต้องเป็ นเครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะมีกำลังขับเคลื่อนไม่ต่ำกว่าที่ระบุไว้ที่ความเร็วไม่เกิน 3,000 รอบต่อนาที กำลังขับเคลื่อน (Brake HorsePower) ของเครื่องยนต์ต้องสูงกว่ากำลังขับเคลื่อนที่เครื่องสูบน้ำต้องการสูงสุดไม่ต่ำกว่าร้อยละ10 เครื่องยนต์ต้องสร้างตามมาตรฐานหรือข้อกำหนดและได้รับการทดสอบตามที่ระบุไว้ในมาตรฐานนี้และได้รับการรับรองจากสถาบันทดสอบที่น่าเชื่อถือข้อกำหนดและอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ ของชุดเครื่องยนต์ดีเซลมีดังนี้
· ข้อต่อ(Coupling) การต่อเครื่องยนต์กับเครื่องสูบน้ำใช้ข้อต่อยูรีเทนชนิดยืดหยุ่น (UrethaneFlexible Coupling) มีค่า Deflection ไม่มากกว่าที่ผู้ผลิตระบุไว้ขณะใช้งาน และมีค่า ServiceFactor ไม่ต่ำกว่า 1.5 และต้องมีฝาครอบป้ องกัน (Coupling Guard)
· กัลวานอร์(Governor) สำหรับปรับรอบของเครื่องยนต์ให้เปลี่ยนแปลงไม่เกินร้อยละ 10 ที่ทุกสภาวะการทำงานของเครื่องสูบน้ำ และสามารถช่วยคงความเร็วรอบของเครื่องยนต์ได้ที่ ratespeed เมื่อเครื่องสูบน้ำใช้กำลังสูงสุด
· อุปกรณ์หยุดเครื่องยนต์(Govern Speed Shut-Down Device) สำหรับหยุดเครื่องยนต์เมื่อ
ความเร็วของเครื่องยนต์เกินร้อยละ 20 ของ Rated Speed และมี Manual Reset ประกอบ
พร้อมไฟสัญญาณแสดงว่าเครื่องยนต์ทำงานที่ความเร็วรอบสูงเกินที่แผงควบคุมเครื่องยนต์ไฟสัญญาณจะดับเมื่อ Manual Reset แล้ว มี Tachometer พร้อมหน้าปัทม์เพื่อแสดงรอบของเครื่องยนต์
· มาตรวัดชั่วโมงการทำงาน(Hour Meter) สำหรับนับทุกชั่วโมงการทำงานของเครื่องยนต์
· มาตรวัดแรงดันน้ำมันหล่อลื่น(Oil Pressure Gauge) สำหรับแสดงความดันของน้ำมันหล่อลื่น
· มาตรวัดอุณหภูมิน้ำมันหล่อเย็น(Temperature Gauge) สำหรับแสดงอุณหภูมิของน้ำในหม้อน้ำ
· แผงควบคุมเครื่องยนต์ (Engine Panel) ประกอบด้วยแผงสำหรับติดตั้งเกจต่างๆหลอดสัญญาณและชุดสตาร์ทเตอร์เครื่องยนต์ การเดินสายภายในแผงควบคุมทำสำเร็จมาจากโรงงานผู้ผลิต
· แบตเตอรี่และเครื่องประจุ(Batteries and Battery charger) สำหรับสตาร์ทเครื่องยนต์ต้องประกอบด้วยแบตเตอรี่จริง 1 ชุดและสำรอง 1 ชุด มีกำลังพอที่จะหมุนเพลาข้อเหวี่ยงให้ได้รอบที่ผู้ผลิตแนะนำเป็นเวลานาน 6 นาที ที่ 40 องศาเซลเซียล
· ระบบระบายความร้อนของเครื่องยนต์ เป็นแบบระบายความร้อนด้วยน้ำแบบ Closed CircuitType ประกอบด้วยเครื่องสูบน้ำระบายความร้อนขับเครื่องยนต์เองและ Heat Exchangerพร้อม Cooling Piping ซึ่งประกอบด้วย Strainer, Regulator, Solenoid Valve, Bypass Valveและ Service Valve
· ท่อไอเสียจากเครื่องยนต์ ใช้ท่อเหล็กชุบสังกะสีชนิดไม่มีตะเข็บมีขนาดตามที่ผู้ผลิตแนะนำท่อไอเสียต่อยาวเกิน 4.5 เมตร ต้องขยายขนาดออกอีกหนึ่งขนาดทุกๆ ความยาวที่เกินไปอีก15 เมตร การต่อท่อไอเสียเข้ากับเครื่องยนต์ให้ต่อด้วยท่ออ่อนเหล็กกล้าไร้สนิม พร้อมติดตั้งSilencer ท่อไอเสียต้องหุ้มด้วยฉนวนแคลเซี่ยมซิลิเกทหนา 40 มิลลิเมตร แล้วหุ้มทับด้วยปลอกอลูมิเนียม(Aluminum Jacket) หนา 0.6 มิลลิเมตรถังน้ำมันดีเซล ทำด้วยเหล็กหนาไม่น้อยกว่าเบอร์ 10 USSG ( 3.57 มิลลิเมตร) มีขนาดบรรจุพอสำหรับเก็บน้ำมันใช้ในการวิ่งเครื่องยนต์ดีเซลได้อย่างน้อย 8 ชั่วโมง และไม่น้อยกว่า378.62 ลิตร(100 แกลลอน) ติดตั้งอยู่เหนือดินมีทางน้ำมันเข้า, ที่ระบายน้ำมัน, ท่อระบายอากาศ, Sight Glass สำหรับดูระดับน้ำมันครบชุด
การออกแบบเครื่องยนต์ที่ทางโรงงานผู้ผลิตเครื่องสูบน้ำดับเพลิงประกอบสำเร็จมาจากโรงงานสามารถทำงานได้โดยอัตโนมัติพร้อมด้วยส่วนประกอบต่างๆ ไม่น้อยกว่าต่อไปนี้
· เครื่องควบคุมด้วยมือในยามฉุกเฉินพร้อมส่วนประกอบ
· ระบบหล่อเย็น เครื่องควบคุมความดัน ที่กรองผง ท่อเบี่ยงและส่วนประกอบที่จำเป็น
· ข้อต่อท่อไอเสียแบบท่ออ่อน
· หม้อเก็บเสียงจากท่อไอเสีย
· หม้อแบตเตอรี่แบบตะกั่วและกรด 1 ชุด (2ลูก)
· น้ำมันเชื้อเพลิงต้องมีสำรองไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของถังบรรจุ พร้อมมีหลอดแก้วสำหรับอ่านระดับน้ำมันในถัง และถังน้ำมันจะต้องตั้งอยู่บนขาตั้งซึ่งวางอยู่บนพื้นอย่างมั่นคง และต้องมีขอบเขื่อนรองรับการรั่วไหลได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 110 ของขนาดถังบรรจุขนาดใหญ่ที่สุด
อุปกรณ์ควบคุมและอุปกรณ์ประกอบ
ผู้ผลิตต้องทำการติดตั้งอุปกรณ์ประกอบต่างๆลงบนแผงหน้าปัดที่ยึดติดบนเครื่องยนต์อย่างน้อย
ดังรายการต่อไปนี้
· มาตรวัดความเร็วรอบเครื่องยนต์ (Tachometer) เพื่อวัดความเร็วรอบเครื่องยนต์ กรณีมาตรวัดความเร็วรอบเครื่องยนต์ไม่มีมาตรวัดเวลาชั่วโมงการทำงาน ต้องทำการติดตั้งมาตรวัดชั่วโมงการทำงานเพิ่มด้วย
· มาตรวัดแรงดันน้ำมันเครื่อง (Oil Pressure Gauge) เพื่อวัดแรงดันน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์
· มาตรวัดอุณหภูมิน้ำหล่อเย็น (Temperature Gauge) เครื่องยนต์ที่ระบายความร้อนด้วยน้ำต้องทำการติดตั้งมาตรวัดอุณหภูมิน้ำหล่อเย็นของเครื่องยนต์
· มาตรวัดกระแสประจุแบตเตอรี่ (Ammeter) และมาตรวัดสถานะการประจุไฟแบตเตอรี่ (Voltmeter) เพื่อดูทิศทางและสถานการณ์ไหลของกระแสในระบบประจุไฟเข้าแบตเตอรี่
กรณีไม่ได้ติดตั้งตู้ควบคุมไว้กับเครื่องยนต์
ให้ทำการติดตั้งสวิทช์ควบคุม ไฟแสดงสถานะของเครื่องยนต์ และอุปกรณ์ควบคุมต่างๆ ไว้บนแผงหน้าปัดเครื่องยนต์ด้วยโดยการติดตั้งต้องยึดติดแน่นบนเครื่องยนต์ บนตำแหน่งที่ไม่กีดขวาง อยู่ใกล้กับชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหว และก่อให้เกิดอันตรายกับผู้ใช้งาน และการติดตั้งต้องทำการป้องกันแผงหน้าปัดจากการสั่นสะเทือน ความร้อน และความเสียหายทางกลด้วย
· เครื่องยนต์ขับเครื่องสูบน้ำดับเพลิงต้องมีการติดตั้งตัวควบคุมรอบ (SpeedGovernor) เพื่อรักษาความเร็วรอบเครื่องยนต์ให้อยู่ภายในความคลาดเคลื่อนไม่เกินร้อยละ 10 จากค่าที่ตั้งไว้
· ต้องทำการติดตั้งตัวตัดการทำงานของเครื่องยนต์เมื่อหมุนเร็วเกินค่าที่กำหนดเพื่อตัดการทำงานของเครื่องยนต์เมื่อทำงานเกินร้อยละ 120 ของรอบการทำงานที่ตั้งไว้จากโรงงาน โดยต้องทำการติดตั้งตัวตั้งค่าใหม่ด้วยมือด้วย (Manual Reset)ก่อนทำการเริ่มเดินเครื่องใหม่ด้วย
· ระบบหล่อเย็นเครื่องยนต์ต้องทำการติดตั้งสวิทช์ตรวจอุณหภูมิเครื่องยนต์สูงเกินด้วย โดยสวิทช์ต้องทำงานเมื่อเครื่องยนต์มีระดับอุณหภูมิสูงเกินที่มีสาเหตุจากการระบายความร้อนไม่เพียงพอ
· สวิทช์ตรวจแรงดันน้ำมันเครื่องต่ำเกินพิกัด ต้องทำงานเมื่อระดับแรงดันของน้ำมันเครื่องไม่เพียงพอต่อการหล่อลื่นเครื่องยนต์
· คันเร่งด้วยมือพร้อมอุปกรณ์ล็อคตำแหน่ง เพื่อให้สามารถปรับตั้งรอบการทำงานของเครื่องยนต์ได้
· สวิทช์ตรวจวัดรอบการหมุนเครื่องยนต์ (Speed Sensitive Switch) เพื่อตัดการทำงานของระบบเริ่มเดินเครื่องยนต์
· ระบบการจัดการการใช้เชื้อเพลิงด้วยระบบอิเล็กโทรนิก (Electronic FuelManagement Controls) โดยต้องมีอุปกรณ์ควบคุมสองชุด เพื่อให้เครื่องยนต์สามารถทำงานได้ เมื่ออุปกรณ์หลักเกิดการขัดข้อง
ระบบการเริ่มเดินเครื่อง (Starting System)
· เครื่องยนต์ที่ใช้ระบบเริ่มเดินเครื่องด้วยระบบไฟฟ้าต้องมีความสามารถในการฉุดเพลาข้อเหวี่ยง (Cranking) เป็นเวลาอย่างน้อย 6 นาที (โดยการฉุดเพลาข้อเหวี่ยงต่อเนื่อง 15 วินาที สลับกับพัก 15 วินาที ซ้ำกัน 12 รอบ) ที่อุณหภูมิแวดล้อม 4.5 องศาเซลเซียส การยกเลิกการฉุดเพลาข้อเหวี่ยงนี้ต้องทำโดยการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดรอบการหมุนของเครื่องยนต์เข้ากับระบบควบคุมอัตโนมัติ โดยระบบควบคุมอัตโนมัติต้องยอมให้สามารถเริ่มเดินเครื่องได้ด้วยมือในกรณีฉุกเฉินผู้ผลิตต้องระบุขนาดพิกัดของอุปกรณ์เริ่มเดินเครื่องเสริม เช่น ขนาดความจุของแบตเตอรี่ เป็นต้น โดยระบบการเริ่มเดินเครื่องนี้ต้องมีระบบทางเลือกสำรอง ดังนั้นต้องมีอุปกรณ์ที่จำเป็นในการเริ่มเดินเครื่องทั้งหมดสองชุด โดยต้องมีระบบการตรวจสอบการทำงานของระบบการเริ่มเดินเครื่องทางเลือกโดยเลือกว่าจะใช้แบตเตอรี่ลูกใดทำการเริ่มเดินเครื่อง ตัดสินโดยตรวจวัดสถานะว่าอุปกรณ์ชุดใดมีระดับการจุไฟสูงกว่า นอกจากนี้ต้องมีระบบการเริ่มเดินเครื่องในกรณีฉุกเฉินโดยวิธีเริ่มเดินเครื่องด้วยมืออุปกรณ์จ่ายไฟจากแบตเตอรี่ต้องเป็นแบบที่สามารถเริ่มทำงานด้วยมือได้ด้วยและเป็นแบบสวิทช์สับ (Snap Action Type) วาล์วทั้งหมดในเครื่องยนต์ต้องสามารถสั่งให้ทำงานด้วยมือได้ หรือต้องมีวาล์วบายพาสที่ทำงานด้วยมือ
ระบบการประจุไฟ (Charging System)
· ระบบการเริ่มเดินเครื่องทั้งหมดต้องเป็นแบบสามารถประจุไฟซ้ำได้ ทั้งแบบการประจุขณะเครื่องยนต์ทำงาน และอุปกรณ์ประจุภายนอก โดยระบบการประจุต้องคงสถานะการประจุไฟเต็มให้กับแหล่งสำรองพลังงานตลอดเวลา
ระบบหล่อเย็น (Cooling System)
ระบบการหล่อเย็นต้องรักษาระดับอุณหภูมิทำงานของเครื่องยนต์ได้โดยอัตโนมัติ โดยอุปกรณ์การควบคุมอุณหภูมิของเครื่องยนต์ต้องออกแบบให้สามารถระบายความร้อนได้สงสุดในกรณีที่อุปกรณ์ล้มเหลว ผู้ผลิตเครื่องยนต์ต้องระบุช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสมกับการทำงานของเครื่องยนต์ด้วย
ระบบการหล่อเย็นด้วยน้ำ
· ระบบการหล่อเย็นด้วยน้ำต้องมีระบบหลักเป็นระบบปิด โดยความร้อนจากระบบหลักต้องส่งผ่านไปยังระบบที่สอง เช่น ระบบการถ่ายเทความร้อนด้วยวงจรระบบความร้อนด้วยน้ำดิบ (Raw Water CoolingCircuit) หรือ ระบบการระบายความร้อนด้วยหม้อน้ำ วาล์วน้ำ(Thermostat) สามารถใช้ได้ในวงจรระบายความร้อนแบบปิด และสามารถเปลี่ยนได้ ระบบระบายความร้อนหลักต้องมีช่องเปิดให้สามารถเติมเพิ่ม หรือตรวจสอบระดับน้ำได้ ควรติดตั้งหม้อพักน้ำเพื่อลดการสูญเสียน้ำหล่อเย็นเนื่องจากการขยายตัวทางความร้อนและการหดตัว และผู้ผลิตควรระบุปริมาณน้ำยาเติมหม้อน้ำและระยะเวลาเปลี่ยนถ่ายเพื่อการป้องกันเครื่องยนต์สูงสุด
· กรณีใช้สายพานวี (V) ในการส่งกำลังขับปั๊มหมุนเวียนน้ำหล่อเย็น ต้องมีสายพานอย่างน้อยสองชุดในการส่งกำลัง หรือถ้าเป็นสายพานเส้นเดียว ต้องเป็นแบบร่องวี (V) สองร่องขึ้นไปและต้องติดตั้งแผ่นบังป้องกันอันตรายจากชิ้นส่วนเคลื่อนไหว
· กรณีใช้น้ำดิบในการระบายความร้อนให้กับน้ำหล่อเย็น ผู้ผลิตต้องจัดทำกราฟแสดงอัตราการไหลที่ต้องการและแรงดัน กับอุณหภูมิของน้ำดิบในแต่ละความเร็วรอบเครื่องด้วยท่อขาออกของน้ำดิบต้องมีขนาดใหญ่กว่าท่อด้านขาเข้าอย่างน้อยหนึ่งขนาด ซึ่งมาตรฐานนี้ต้องใช้กับระบบระบายความร้อนให้ไอดีจากเทอร์โบด้วย
· ระบบการระบายความร้อนเสริม เช่นระบบระบายความร้อนให้น้ำมันเครื่องและ ระบบระบายความร้อนให้อากาศเข้าเครื่อง สามารถใช้ได้ถ้าระบบเหล่านี้ใช้น้ำดิบร่วมกับระบบหล่อเย็นหลักของเครื่องยนต์ อย่างไรก็ตามระบบระบายความร้อนไอดีจากเทอร์โบสามารถใช้น้ำดิบในการหล่อเย็นแยกต่างหากจากระบบอื่นได้
ระบบระบายความร้อนด้วยอากาศ
· ความร้อนจากระบบระบายความร้อนหลักต้องส่งผ่านโดยตรงสู่บรรยากาศผ่านทางหม้อน้ำ พัดลมที่ใช้กำลังขับจากเครื่องยนต์ และระบบปั๊มหมุนเวียนน้ำหล่อเย็น โดยชิ้นส่วนเคลื่อนไหวได้ต่างๆต้องทำแผ่นป้องกันอันตรายด้วย
· ระบบระบายความร้อนเสริม เช่น ระบบระบายความร้อนให้น้ำมันเครื่อง และระบบระบายความร้อนให้ไอดีจากเทอร์โบสามารถใช้ได้หากใช้อากาศระบายความร้อนร่วมกับระบบระบายความร้อนหลัก ทั้งนี้ระบบระบายความร้อนให้ไอดีจากเทอร์โบสามารถใช้น้ำดิบในการระบายความร้อนได้ แม้ว่าระบบระบายความร้อนหลักจะใช้อากาศ
· ระบบระบายความร้อนหลักต้องมีช่องเปิดให้สามารถเติมเพิ่ม หรือตรวจสอบระดับน้ำได้ ควรติดตั้งหม้อพักน้ำเพื่อลดการสูญเสียน้ำหล่อเย็นเนื่องจากการขยายตัวทางความร้อนและการหดตัว และผู้ผลิตควรระบุปริมาณน้ำยาเติมหม้อน้ำและระยะเวลาเปลี่ยนถ่ายเพื่อการป้องกันเครื่องยนต์สูงสุด
· การจ่ายอากาศให้เครื่องยนต์และอัตราการระบายอากาศต้องเป็นไปตามมาตรฐานนี้
ระบบการหล่อลื่น (Lubrication System)
· เครื่องยนต์ต้องได้รับการติดตั้งระบบการหล่อลื่นแบบมีแรงดันในระบบที่เหมาะสมโดยระบบต้องได้รับกำลังขับโดยตรงจากการทำงานของเครื่องยนต์ และมีระบบการจ่ายน้ำมันและการกรอง ระบบการหล่อลื่นของเครื่องยนต์ต้องไม่มีการรั่วซึม ไส้กรองน้ำมันต้องสามารถเปลี่ยนได้โดยสะดวก หรือถ้าเป็นแบบถาวรต้องสามารถถอดล้างได้โดยสะดวกเช่นกัน ต้องมีการจัดเตรียมการตรวจวัดระดับน้ำมันเครื่อง การถ่ายและการเติมน้ำมันเครื่อง ท่อระบายไอน้ำมันเครื่องต้องสามารถต่อข้อต่อไปยังท่อระบายไอระเหยนอกห้องเครื่องสูบน้ำหรือเข้าสู่ไส้กรองอากาศของเครื่องยนต์ได้
ระบบการนำอากาศ (Induction System)
· ระบบการดูดอากาศเข้าเครื่องหรือระบบการนำอากาศ ต้องได้รับการติดตั้งไส้กรองอากาศที่เหมาะสมเพื่อป้ องกันฝุ่นละอองและสิ่งแปลกปลอมหลุดเข้าสู่เครื่องยนต์ การออกแบบไส้กรองต้องได้รับการออกแบบให้สามารถถอดเปลี่ยนหรือทำความสะอาดได้โดยง่าย ระบบการดูดอากาศต้องสามารถต่อท่อออกไปดูดอากาศจากภายนอกห้องเครื่องได้หากจำต้องการ เครื่องยนต์ขับเครื่องสูบน้ำดับเพลิงแต่ละเครื่องต้องมีระบบดูดอากาศแยกอิสระจากกันตามความเหมาะสม เช่น ในห้องเครื่องที่มีเครื่องยนต์หลายชุด ผู้ใช้งานและผู้ทดสอบต้องทำตามคำแนะนำในการเปลี่ยนและการทำความสะอาดไส้กรองจากผู้ผลิต
ระบบไอเสีย (Exhaust System)
· ระบบระบายไอเสียต้องเป็นระบบที่ไม่มีการรั่วไหลของก๊าซไอเสียตลอดทุกช่วงอุณหภูมิและแรงดันของก๊าซไอเสีย ระบบต้องได้รับการออกแบบให้มีข้อต่อที่สามารถต่อท่อไอเสียออกไปปล่อยนอกห้องเครื่องและห่างจากระบบการดูดอากาศเข้าเครื่องระบบไอเสียต้องเป็นไปตามขนาดที่ผู้ผลิตแนะนำและป้องกันการนำน้ำให้ไหลมาเข้าห้องเครื่อง ระบบท่อไอเสียต้องได้รับการป้องกัน หุ้มฉนวน หรือหล่อเย็นโดยผู้ผลิตเพื่อป้องกันการเกิดไฟไหม้ หรือเป็นอันตรายกับผู้ใช้งาน เครื่องยนต์ขับเครื่องสูบน้ำดับเพลิงแต่ละเครื่องต้องมีระบบไอเสียแยกอิสระจากกัน
ระบบน้ำมันเชื้อเพลิง (Fuel system)
· ระบบน้ำมันเชื้อเพลิงต้องมีการต่อไส้กรองที่สามารถเปลี่ยนได้ง่าย ระบบน้ำมันเชื้อเพลิงต้องปราศจากรอยรั่วซึมตลอดสภาพการทำงานของเครื่องยนต์ และขนาดข้อต่อน้ำมันต้องเป็นไปตามที่ผู้ผลิตระบุ
· คุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ต้องเป็นไปตามที่ระบุในแผ่นข้อมูลที่ผู้ผลิตกำหนด
· ความจุถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงต้องเป็นไปตามที่ผู้ผลิตแนะนำหรือขึ้นกับสภาพการใช้งาน เช่น รอบการเติมน้ำมันเพิ่ม เป็นต้น
· เครื่องยนต์แต่ละเครื่องต้องมีท่อน้ำมันเชื้อเพลิงและถังน้ำมันแยกอิสระต่อกัน
· ท่อน้ำมันเชื้อเพลิงที่เปิ ดโล่งต้องได้รับการปกป้ องจากรอยหักพับหรือความเสียหายจากการถูกกระทบกระเทือนและได้รับการยึดที่เหมาะสมเพื่อลดการสั่นสะเทือนที่ทำให้สายน้ำมันเกิดการล้าและทำให้ท่อน้ำมันล้มเหลว
การติดตั้ง
การติดตั้งเครื่องยนต์ดีเซลขับเคลื่อนเครื่องสูบน้ำดับเพลิงต้องตั้งตามข้อแนะนำของผู้ผลิต
· ข้อกำหนดทั่วในการติดตั้งมีดังนี้:-
กรณีเป็นเครื่องสูบน้ำดับเพลิงชนิดแรงเหวี่ยงหนีศูนย์ (Centrifugal Fire Pump)
· เครื่องสูบน้ำดับเพลิงและชุดขับเคลื่อนจะต้องติดตั้งบนแท่นเดียวกัน โดยต่อผ่านข้อต่อชนิดยืดหยุ่น (Flexible Coupling) เพื่อทำให้เพลาของเครื่องสูบน้ำดับเพลิงได้ศูนย์
· แท่นเครื่องสูบน้ำดับเพลิงและชุดขับเคลื่อน ต้องทำจากเหล็กรูปพรรณที่มีความมั่นคงแข็งแรง
· แท่นเครื่องสูบน้ำดับเพลิงและชุดขับเคลื่อน จะต้องยึดติดอย่างมั่นคงแข็งแรงกับฐาน
คอนกรีต
ถ้าเป็นเครื่องสูบน้ำดับเพลิงแบบเทอร์ไบน์
หัวเครื่องสูบน้ำด้านส่งจะต้องยึดติดอย่างถาวรกับฐานคอนกรีต
ฐานคอนกรีตที่รองรับหัวเครื่องสูบน้ำด้านส่งจะต้องได้รับการปรับระดับอย่างดี เพื่อทำให้เพลาของเครื่องสูบน้ำได้ดิ่งและได้ศูนย์
ในกรณีที่ติดตั้งเครื่องสูบน้ำเหนือบ่อน้ำเปิด ให้ใช้เหล็กหรือคานรองรับ และถ้าเครื่องสูบน้ำต่อกับชุดขับผ่านเกียร์เปลี่ยนทิศ ชุดขับจะต้องติดตั้งขนานกับคานรองรับดังกล่าว