วันศุกร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2553

Diesel Engine Fire Pump Drivers

มาตรฐานเครื่องยนต์ดีเซลขับเคลื่อนเครื่องสูบนํ้าดับเพลิง
คุณลักษณะผลิตภัณฑ์
·       เครื่องยนต์ที่ใช้ในการขับเครื่องสูบน้ำดับเพลิงต้องเป็ นเครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะมีกำลังขับเคลื่อนไม่ต่ำกว่าที่ระบุไว้ที่ความเร็วไม่เกิน 3,000 รอบต่อนาที กำลังขับเคลื่อน (Brake HorsePower) ของเครื่องยนต์ต้องสูงกว่ากำลังขับเคลื่อนที่เครื่องสูบน้ำต้องการสูงสุดไม่ต่ำกว่าร้อยละ10 เครื่องยนต์ต้องสร้างตามมาตรฐานหรือข้อกำหนดและได้รับการทดสอบตามที่ระบุไว้ในมาตรฐานนี้และได้รับการรับรองจากสถาบันทดสอบที่น่าเชื่อถือข้อกำหนดและอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ ของชุดเครื่องยนต์ดีเซลมีดังนี้
·       ข้อต่อ(Coupling) การต่อเครื่องยนต์กับเครื่องสูบน้ำใช้ข้อต่อยูรีเทนชนิดยืดหยุ่น (UrethaneFlexible Coupling) มีค่า Deflection ไม่มากกว่าที่ผู้ผลิตระบุไว้ขณะใช้งาน และมีค่า ServiceFactor ไม่ต่ำกว่า 1.5 และต้องมีฝาครอบป้ องกัน (Coupling Guard)
·       กัลวานอร์(Governor) สำหรับปรับรอบของเครื่องยนต์ให้เปลี่ยนแปลงไม่เกินร้อยละ 10 ที่ทุกสภาวะการทำงานของเครื่องสูบน้ำ และสามารถช่วยคงความเร็วรอบของเครื่องยนต์ได้ที่ ratespeed เมื่อเครื่องสูบน้ำใช้กำลังสูงสุด
·       อุปกรณ์หยุดเครื่องยนต์(Govern Speed Shut-Down Device) สำหรับหยุดเครื่องยนต์เมื่อ
ความเร็วของเครื่องยนต์เกินร้อยละ 20 ของ Rated Speed และมี Manual Reset ประกอบ
พร้อมไฟสัญญาณแสดงว่าเครื่องยนต์ทำงานที่ความเร็วรอบสูงเกินที่แผงควบคุมเครื่องยนต์ไฟสัญญาณจะดับเมื่อ Manual Reset แล้ว มี Tachometer พร้อมหน้าปัทม์เพื่อแสดงรอบของเครื่องยนต์
·       มาตรวัดชั่วโมงการทำงาน(Hour Meter) สำหรับนับทุกชั่วโมงการทำงานของเครื่องยนต์
·       มาตรวัดแรงดันน้ำมันหล่อลื่น(Oil Pressure Gauge) สำหรับแสดงความดันของน้ำมันหล่อลื่น
·       มาตรวัดอุณหภูมิน้ำมันหล่อเย็น(Temperature Gauge) สำหรับแสดงอุณหภูมิของน้ำในหม้อน้ำ
·       แผงควบคุมเครื่องยนต์ (Engine Panel) ประกอบด้วยแผงสำหรับติดตั้งเกจต่างๆหลอดสัญญาณและชุดสตาร์ทเตอร์เครื่องยนต์ การเดินสายภายในแผงควบคุมทำสำเร็จมาจากโรงงานผู้ผลิต
·       แบตเตอรี่และเครื่องประจุ(Batteries and Battery charger) สำหรับสตาร์ทเครื่องยนต์ต้องประกอบด้วยแบตเตอรี่จริง 1 ชุดและสำรอง 1 ชุด มีกำลังพอที่จะหมุนเพลาข้อเหวี่ยงให้ได้รอบที่ผู้ผลิตแนะนำเป็นเวลานาน 6 นาที ที่ 40 องศาเซลเซียล
·       ระบบระบายความร้อนของเครื่องยนต์ เป็นแบบระบายความร้อนด้วยน้ำแบบ Closed CircuitType ประกอบด้วยเครื่องสูบน้ำระบายความร้อนขับเครื่องยนต์เองและ Heat Exchangerพร้อม Cooling Piping ซึ่งประกอบด้วย Strainer, Regulator, Solenoid Valve, Bypass Valveและ Service Valve
·       ท่อไอเสียจากเครื่องยนต์ ใช้ท่อเหล็กชุบสังกะสีชนิดไม่มีตะเข็บมีขนาดตามที่ผู้ผลิตแนะนำท่อไอเสียต่อยาวเกิน 4.5 เมตร ต้องขยายขนาดออกอีกหนึ่งขนาดทุกๆ ความยาวที่เกินไปอีก15 เมตร การต่อท่อไอเสียเข้ากับเครื่องยนต์ให้ต่อด้วยท่ออ่อนเหล็กกล้าไร้สนิม พร้อมติดตั้งSilencer ท่อไอเสียต้องหุ้มด้วยฉนวนแคลเซี่ยมซิลิเกทหนา 40 มิลลิเมตร แล้วหุ้มทับด้วยปลอกอลูมิเนียม(Aluminum Jacket) หนา 0.6 มิลลิเมตรถังน้ำมันดีเซล ทำด้วยเหล็กหนาไม่น้อยกว่าเบอร์ 10 USSG ( 3.57 มิลลิเมตร) มีขนาดบรรจุพอสำหรับเก็บน้ำมันใช้ในการวิ่งเครื่องยนต์ดีเซลได้อย่างน้อย 8 ชั่วโมง และไม่น้อยกว่า378.62 ลิตร(100 แกลลอน) ติดตั้งอยู่เหนือดินมีทางน้ำมันเข้า, ที่ระบายน้ำมัน, ท่อระบายอากาศ, Sight Glass สำหรับดูระดับน้ำมันครบชุด
การออกแบบเครื่องยนต์ที่ทางโรงงานผู้ผลิตเครื่องสูบน้ำดับเพลิงประกอบสำเร็จมาจากโรงงานสามารถทำงานได้โดยอัตโนมัติพร้อมด้วยส่วนประกอบต่างๆ ไม่น้อยกว่าต่อไปนี้
·       เครื่องควบคุมด้วยมือในยามฉุกเฉินพร้อมส่วนประกอบ
·       ระบบหล่อเย็น เครื่องควบคุมความดัน ที่กรองผง ท่อเบี่ยงและส่วนประกอบที่จำเป็น
·       ข้อต่อท่อไอเสียแบบท่ออ่อน
·       หม้อเก็บเสียงจากท่อไอเสีย
·       หม้อแบตเตอรี่แบบตะกั่วและกรด 1 ชุด (2ลูก)
·       น้ำมันเชื้อเพลิงต้องมีสำรองไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของถังบรรจุ พร้อมมีหลอดแก้วสำหรับอ่านระดับน้ำมันในถัง และถังน้ำมันจะต้องตั้งอยู่บนขาตั้งซึ่งวางอยู่บนพื้นอย่างมั่นคง และต้องมีขอบเขื่อนรองรับการรั่วไหลได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 110 ของขนาดถังบรรจุขนาดใหญ่ที่สุด

อุปกรณ์ควบคุมและอุปกรณ์ประกอบ
ผู้ผลิตต้องทำการติดตั้งอุปกรณ์ประกอบต่างๆลงบนแผงหน้าปัดที่ยึดติดบนเครื่องยนต์อย่างน้อย
ดังรายการต่อไปนี้
·       มาตรวัดความเร็วรอบเครื่องยนต์ (Tachometer) เพื่อวัดความเร็วรอบเครื่องยนต์ กรณีมาตรวัดความเร็วรอบเครื่องยนต์ไม่มีมาตรวัดเวลาชั่วโมงการทำงาน ต้องทำการติดตั้งมาตรวัดชั่วโมงการทำงานเพิ่มด้วย
·       มาตรวัดแรงดันน้ำมันเครื่อง (Oil Pressure Gauge) เพื่อวัดแรงดันน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์
·       มาตรวัดอุณหภูมิน้ำหล่อเย็น (Temperature Gauge) เครื่องยนต์ที่ระบายความร้อนด้วยน้ำต้องทำการติดตั้งมาตรวัดอุณหภูมิน้ำหล่อเย็นของเครื่องยนต์
·       มาตรวัดกระแสประจุแบตเตอรี่ (Ammeter) และมาตรวัดสถานะการประจุไฟแบตเตอรี่ (Voltmeter) เพื่อดูทิศทางและสถานการณ์ไหลของกระแสในระบบประจุไฟเข้าแบตเตอรี่
กรณีไม่ได้ติดตั้งตู้ควบคุมไว้กับเครื่องยนต์
ให้ทำการติดตั้งสวิทช์ควบคุม ไฟแสดงสถานะของเครื่องยนต์ และอุปกรณ์ควบคุมต่างๆ ไว้บนแผงหน้าปัดเครื่องยนต์ด้วยโดยการติดตั้งต้องยึดติดแน่นบนเครื่องยนต์ บนตำแหน่งที่ไม่กีดขวาง อยู่ใกล้กับชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหว และก่อให้เกิดอันตรายกับผู้ใช้งาน และการติดตั้งต้องทำการป้องกันแผงหน้าปัดจากการสั่นสะเทือน ความร้อน และความเสียหายทางกลด้วย
·       เครื่องยนต์ขับเครื่องสูบน้ำดับเพลิงต้องมีการติดตั้งตัวควบคุมรอบ (SpeedGovernor) เพื่อรักษาความเร็วรอบเครื่องยนต์ให้อยู่ภายในความคลาดเคลื่อนไม่เกินร้อยละ 10 จากค่าที่ตั้งไว้
·       ต้องทำการติดตั้งตัวตัดการทำงานของเครื่องยนต์เมื่อหมุนเร็วเกินค่าที่กำหนดเพื่อตัดการทำงานของเครื่องยนต์เมื่อทำงานเกินร้อยละ 120 ของรอบการทำงานที่ตั้งไว้จากโรงงาน โดยต้องทำการติดตั้งตัวตั้งค่าใหม่ด้วยมือด้วย (Manual Reset)ก่อนทำการเริ่มเดินเครื่องใหม่ด้วย
·       ระบบหล่อเย็นเครื่องยนต์ต้องทำการติดตั้งสวิทช์ตรวจอุณหภูมิเครื่องยนต์สูงเกินด้วย โดยสวิทช์ต้องทำงานเมื่อเครื่องยนต์มีระดับอุณหภูมิสูงเกินที่มีสาเหตุจากการระบายความร้อนไม่เพียงพอ
·       สวิทช์ตรวจแรงดันน้ำมันเครื่องต่ำเกินพิกัด ต้องทำงานเมื่อระดับแรงดันของน้ำมันเครื่องไม่เพียงพอต่อการหล่อลื่นเครื่องยนต์
·       คันเร่งด้วยมือพร้อมอุปกรณ์ล็อคตำแหน่ง เพื่อให้สามารถปรับตั้งรอบการทำงานของเครื่องยนต์ได้
·       สวิทช์ตรวจวัดรอบการหมุนเครื่องยนต์ (Speed Sensitive Switch) เพื่อตัดการทำงานของระบบเริ่มเดินเครื่องยนต์
·       ระบบการจัดการการใช้เชื้อเพลิงด้วยระบบอิเล็กโทรนิก (Electronic FuelManagement Controls) โดยต้องมีอุปกรณ์ควบคุมสองชุด เพื่อให้เครื่องยนต์สามารถทำงานได้ เมื่ออุปกรณ์หลักเกิดการขัดข้อง
ระบบการเริ่มเดินเครื่อง (Starting System)
·       เครื่องยนต์ที่ใช้ระบบเริ่มเดินเครื่องด้วยระบบไฟฟ้าต้องมีความสามารถในการฉุดเพลาข้อเหวี่ยง (Cranking) เป็นเวลาอย่างน้อย 6 นาที (โดยการฉุดเพลาข้อเหวี่ยงต่อเนื่อง 15 วินาที สลับกับพัก 15 วินาที ซ้ำกัน 12 รอบ) ที่อุณหภูมิแวดล้อม 4.5 องศาเซลเซียส การยกเลิกการฉุดเพลาข้อเหวี่ยงนี้ต้องทำโดยการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดรอบการหมุนของเครื่องยนต์เข้ากับระบบควบคุมอัตโนมัติ โดยระบบควบคุมอัตโนมัติต้องยอมให้สามารถเริ่มเดินเครื่องได้ด้วยมือในกรณีฉุกเฉินผู้ผลิตต้องระบุขนาดพิกัดของอุปกรณ์เริ่มเดินเครื่องเสริม เช่น ขนาดความจุของแบตเตอรี่ เป็นต้น โดยระบบการเริ่มเดินเครื่องนี้ต้องมีระบบทางเลือกสำรอง ดังนั้นต้องมีอุปกรณ์ที่จำเป็นในการเริ่มเดินเครื่องทั้งหมดสองชุด โดยต้องมีระบบการตรวจสอบการทำงานของระบบการเริ่มเดินเครื่องทางเลือกโดยเลือกว่าจะใช้แบตเตอรี่ลูกใดทำการเริ่มเดินเครื่อง ตัดสินโดยตรวจวัดสถานะว่าอุปกรณ์ชุดใดมีระดับการจุไฟสูงกว่า นอกจากนี้ต้องมีระบบการเริ่มเดินเครื่องในกรณีฉุกเฉินโดยวิธีเริ่มเดินเครื่องด้วยมืออุปกรณ์จ่ายไฟจากแบตเตอรี่ต้องเป็นแบบที่สามารถเริ่มทำงานด้วยมือได้ด้วยและเป็นแบบสวิทช์สับ (Snap Action Type) วาล์วทั้งหมดในเครื่องยนต์ต้องสามารถสั่งให้ทำงานด้วยมือได้ หรือต้องมีวาล์วบายพาสที่ทำงานด้วยมือ
ระบบการประจุไฟ (Charging System)
·       ระบบการเริ่มเดินเครื่องทั้งหมดต้องเป็นแบบสามารถประจุไฟซ้ำได้ ทั้งแบบการประจุขณะเครื่องยนต์ทำงาน และอุปกรณ์ประจุภายนอก โดยระบบการประจุต้องคงสถานะการประจุไฟเต็มให้กับแหล่งสำรองพลังงานตลอดเวลา
ระบบหล่อเย็น (Cooling System)
ระบบการหล่อเย็นต้องรักษาระดับอุณหภูมิทำงานของเครื่องยนต์ได้โดยอัตโนมัติ โดยอุปกรณ์การควบคุมอุณหภูมิของเครื่องยนต์ต้องออกแบบให้สามารถระบายความร้อนได้สงสุดในกรณีที่อุปกรณ์ล้มเหลว ผู้ผลิตเครื่องยนต์ต้องระบุช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสมกับการทำงานของเครื่องยนต์ด้วย
ระบบการหล่อเย็นด้วยน้ำ
·       ระบบการหล่อเย็นด้วยน้ำต้องมีระบบหลักเป็นระบบปิด โดยความร้อนจากระบบหลักต้องส่งผ่านไปยังระบบที่สอง เช่น ระบบการถ่ายเทความร้อนด้วยวงจรระบบความร้อนด้วยน้ำดิบ (Raw Water CoolingCircuit) หรือ ระบบการระบายความร้อนด้วยหม้อน้ำ วาล์วน้ำ(Thermostat) สามารถใช้ได้ในวงจรระบายความร้อนแบบปิด และสามารถเปลี่ยนได้ ระบบระบายความร้อนหลักต้องมีช่องเปิดให้สามารถเติมเพิ่ม หรือตรวจสอบระดับน้ำได้ ควรติดตั้งหม้อพักน้ำเพื่อลดการสูญเสียน้ำหล่อเย็นเนื่องจากการขยายตัวทางความร้อนและการหดตัว และผู้ผลิตควรระบุปริมาณน้ำยาเติมหม้อน้ำและระยะเวลาเปลี่ยนถ่ายเพื่อการป้องกันเครื่องยนต์สูงสุด
·       กรณีใช้สายพานวี (V) ในการส่งกำลังขับปั๊มหมุนเวียนน้ำหล่อเย็น ต้องมีสายพานอย่างน้อยสองชุดในการส่งกำลัง หรือถ้าเป็นสายพานเส้นเดียว ต้องเป็นแบบร่องวี (V) สองร่องขึ้นไปและต้องติดตั้งแผ่นบังป้องกันอันตรายจากชิ้นส่วนเคลื่อนไหว
·       กรณีใช้น้ำดิบในการระบายความร้อนให้กับน้ำหล่อเย็น ผู้ผลิตต้องจัดทำกราฟแสดงอัตราการไหลที่ต้องการและแรงดัน กับอุณหภูมิของน้ำดิบในแต่ละความเร็วรอบเครื่องด้วยท่อขาออกของน้ำดิบต้องมีขนาดใหญ่กว่าท่อด้านขาเข้าอย่างน้อยหนึ่งขนาด ซึ่งมาตรฐานนี้ต้องใช้กับระบบระบายความร้อนให้ไอดีจากเทอร์โบด้วย
·       ระบบการระบายความร้อนเสริม เช่นระบบระบายความร้อนให้น้ำมันเครื่องและ ระบบระบายความร้อนให้อากาศเข้าเครื่อง สามารถใช้ได้ถ้าระบบเหล่านี้ใช้น้ำดิบร่วมกับระบบหล่อเย็นหลักของเครื่องยนต์ อย่างไรก็ตามระบบระบายความร้อนไอดีจากเทอร์โบสามารถใช้น้ำดิบในการหล่อเย็นแยกต่างหากจากระบบอื่นได้
ระบบระบายความร้อนด้วยอากาศ
·       ความร้อนจากระบบระบายความร้อนหลักต้องส่งผ่านโดยตรงสู่บรรยากาศผ่านทางหม้อน้ำ พัดลมที่ใช้กำลังขับจากเครื่องยนต์ และระบบปั๊มหมุนเวียนน้ำหล่อเย็น โดยชิ้นส่วนเคลื่อนไหวได้ต่างๆต้องทำแผ่นป้องกันอันตรายด้วย
·       ระบบระบายความร้อนเสริม เช่น ระบบระบายความร้อนให้น้ำมันเครื่อง และระบบระบายความร้อนให้ไอดีจากเทอร์โบสามารถใช้ได้หากใช้อากาศระบายความร้อนร่วมกับระบบระบายความร้อนหลัก ทั้งนี้ระบบระบายความร้อนให้ไอดีจากเทอร์โบสามารถใช้น้ำดิบในการระบายความร้อนได้ แม้ว่าระบบระบายความร้อนหลักจะใช้อากาศ
·       ระบบระบายความร้อนหลักต้องมีช่องเปิดให้สามารถเติมเพิ่ม หรือตรวจสอบระดับน้ำได้ ควรติดตั้งหม้อพักน้ำเพื่อลดการสูญเสียน้ำหล่อเย็นเนื่องจากการขยายตัวทางความร้อนและการหดตัว และผู้ผลิตควรระบุปริมาณน้ำยาเติมหม้อน้ำและระยะเวลาเปลี่ยนถ่ายเพื่อการป้องกันเครื่องยนต์สูงสุด
·       การจ่ายอากาศให้เครื่องยนต์และอัตราการระบายอากาศต้องเป็นไปตามมาตรฐานนี้


ระบบการหล่อลื่น (Lubrication System)
·       เครื่องยนต์ต้องได้รับการติดตั้งระบบการหล่อลื่นแบบมีแรงดันในระบบที่เหมาะสมโดยระบบต้องได้รับกำลังขับโดยตรงจากการทำงานของเครื่องยนต์ และมีระบบการจ่ายน้ำมันและการกรอง ระบบการหล่อลื่นของเครื่องยนต์ต้องไม่มีการรั่วซึม ไส้กรองน้ำมันต้องสามารถเปลี่ยนได้โดยสะดวก หรือถ้าเป็นแบบถาวรต้องสามารถถอดล้างได้โดยสะดวกเช่นกัน ต้องมีการจัดเตรียมการตรวจวัดระดับน้ำมันเครื่อง การถ่ายและการเติมน้ำมันเครื่อง ท่อระบายไอน้ำมันเครื่องต้องสามารถต่อข้อต่อไปยังท่อระบายไอระเหยนอกห้องเครื่องสูบน้ำหรือเข้าสู่ไส้กรองอากาศของเครื่องยนต์ได้
ระบบการนำอากาศ (Induction System)
·       ระบบการดูดอากาศเข้าเครื่องหรือระบบการนำอากาศ ต้องได้รับการติดตั้งไส้กรองอากาศที่เหมาะสมเพื่อป้ องกันฝุ่นละอองและสิ่งแปลกปลอมหลุดเข้าสู่เครื่องยนต์ การออกแบบไส้กรองต้องได้รับการออกแบบให้สามารถถอดเปลี่ยนหรือทำความสะอาดได้โดยง่าย ระบบการดูดอากาศต้องสามารถต่อท่อออกไปดูดอากาศจากภายนอกห้องเครื่องได้หากจำต้องการ เครื่องยนต์ขับเครื่องสูบน้ำดับเพลิงแต่ละเครื่องต้องมีระบบดูดอากาศแยกอิสระจากกันตามความเหมาะสม เช่น ในห้องเครื่องที่มีเครื่องยนต์หลายชุด ผู้ใช้งานและผู้ทดสอบต้องทำตามคำแนะนำในการเปลี่ยนและการทำความสะอาดไส้กรองจากผู้ผลิต
ระบบไอเสีย (Exhaust System)
·       ระบบระบายไอเสียต้องเป็นระบบที่ไม่มีการรั่วไหลของก๊าซไอเสียตลอดทุกช่วงอุณหภูมิและแรงดันของก๊าซไอเสีย ระบบต้องได้รับการออกแบบให้มีข้อต่อที่สามารถต่อท่อไอเสียออกไปปล่อยนอกห้องเครื่องและห่างจากระบบการดูดอากาศเข้าเครื่องระบบไอเสียต้องเป็นไปตามขนาดที่ผู้ผลิตแนะนำและป้องกันการนำน้ำให้ไหลมาเข้าห้องเครื่อง ระบบท่อไอเสียต้องได้รับการป้องกัน หุ้มฉนวน หรือหล่อเย็นโดยผู้ผลิตเพื่อป้องกันการเกิดไฟไหม้ หรือเป็นอันตรายกับผู้ใช้งาน เครื่องยนต์ขับเครื่องสูบน้ำดับเพลิงแต่ละเครื่องต้องมีระบบไอเสียแยกอิสระจากกัน
ระบบน้ำมันเชื้อเพลิง (Fuel system)
·       ระบบน้ำมันเชื้อเพลิงต้องมีการต่อไส้กรองที่สามารถเปลี่ยนได้ง่าย ระบบน้ำมันเชื้อเพลิงต้องปราศจากรอยรั่วซึมตลอดสภาพการทำงานของเครื่องยนต์ และขนาดข้อต่อน้ำมันต้องเป็นไปตามที่ผู้ผลิตระบุ
·       คุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ต้องเป็นไปตามที่ระบุในแผ่นข้อมูลที่ผู้ผลิตกำหนด
·       ความจุถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงต้องเป็นไปตามที่ผู้ผลิตแนะนำหรือขึ้นกับสภาพการใช้งาน เช่น รอบการเติมน้ำมันเพิ่ม เป็นต้น
·       เครื่องยนต์แต่ละเครื่องต้องมีท่อน้ำมันเชื้อเพลิงและถังน้ำมันแยกอิสระต่อกัน
·       ท่อน้ำมันเชื้อเพลิงที่เปิ ดโล่งต้องได้รับการปกป้ องจากรอยหักพับหรือความเสียหายจากการถูกกระทบกระเทือนและได้รับการยึดที่เหมาะสมเพื่อลดการสั่นสะเทือนที่ทำให้สายน้ำมันเกิดการล้าและทำให้ท่อน้ำมันล้มเหลว
การติดตั้ง
การติดตั้งเครื่องยนต์ดีเซลขับเคลื่อนเครื่องสูบน้ำดับเพลิงต้องตั้งตามข้อแนะนำของผู้ผลิต
·       ข้อกำหนดทั่วในการติดตั้งมีดังนี้:-
กรณีเป็นเครื่องสูบน้ำดับเพลิงชนิดแรงเหวี่ยงหนีศูนย์ (Centrifugal Fire Pump)
·       เครื่องสูบน้ำดับเพลิงและชุดขับเคลื่อนจะต้องติดตั้งบนแท่นเดียวกัน โดยต่อผ่านข้อต่อชนิดยืดหยุ่น (Flexible Coupling) เพื่อทำให้เพลาของเครื่องสูบน้ำดับเพลิงได้ศูนย์
·       แท่นเครื่องสูบน้ำดับเพลิงและชุดขับเคลื่อน ต้องทำจากเหล็กรูปพรรณที่มีความมั่นคงแข็งแรง
·       แท่นเครื่องสูบน้ำดับเพลิงและชุดขับเคลื่อน จะต้องยึดติดอย่างมั่นคงแข็งแรงกับฐาน
คอนกรีต
ถ้าเป็นเครื่องสูบน้ำดับเพลิงแบบเทอร์ไบน์
หัวเครื่องสูบน้ำด้านส่งจะต้องยึดติดอย่างถาวรกับฐานคอนกรีต
ฐานคอนกรีตที่รองรับหัวเครื่องสูบน้ำด้านส่งจะต้องได้รับการปรับระดับอย่างดี เพื่อทำให้เพลาของเครื่องสูบน้ำได้ดิ่งและได้ศูนย์
ในกรณีที่ติดตั้งเครื่องสูบน้ำเหนือบ่อน้ำเปิด ให้ใช้เหล็กหรือคานรองรับ และถ้าเครื่องสูบน้ำต่อกับชุดขับผ่านเกียร์เปลี่ยนทิศ ชุดขับจะต้องติดตั้งขนานกับคานรองรับดังกล่าว

วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553

บริการ รับซ่อม ติดตั้ง เครื่องสูบน้ำ ปั้มน้ำ Package Booster Pump and Transfer Pump และ เครื่องสูบน้ำดับเพลิง Diesel Engine Fire Pump

บริการ รับซ่อม ติดตั้ง เครื่องสูบน้ำ ปั้มน้ำ Package Booster Pump and Transfer Pump และ เครื่องสูบน้ำดับเพลิง Diesel Engine Fire Pump

รับซ่อม และ ติดตั้งปั้ม End Suction centrifugal Pump

รับซ่อม และ ติดตั้ง ปั้ม Vertical Multistage Centrifugal Pump

รับซ่อม และ ติดตั้ง ปั้ม Horizontal Split Case Pump

รับซ่อม และ ติดตั้ง ปั้ม Inline Pump

รับซ่อม และ ติดตั้ง ปั้ม Vertical Turbine Pump

รับซ่อม และ ติดตั้ง ปั้ม JOCKEY PUMP


บริการออกแบบ รับซ่อม และ ติดตั้ง งานตู้สวิทซ์บอร์ด ตู้คอนโทรลไฟฟ้า Switchboards CONTROL

รับซ่อม และ ติดตั้ง ตู้คอนโทรลไฟฟ้า SwithBoard Controller

รับซ่อม และ ติดตั้ง ตู้ควบคุมปั้มสูบน้ำดับเพลิง Diesel Engine Fire Pump SwithBoard Controller

รับติดตั้ง อุปกรณ์ควบคุม ด้วยระบบอิเล็กทรอนิก Electronic Control Diesel Engine

รับซ่อม และ ติดตั้ง ตู้สวิทซ์บอร์ดปั้ม End Suction centrifugal Pump SwithBoard CONTROLLER

รับซ่อม และ ติดตั้ง ตู้ควบคุมปั้ม Vertical Multistage Centrifugal Pump SwithBoard Controller

รับซ่อม และ ติดตั้ง ตู้สวิทซ์บอร์ดปั้ม Horizontal Split Case Pump Switchboard CONTROLLER

รับซ่อม และ ติดตั้ง ตู้ควบคุมปั้ม Inline Pump SwithBoard Controller

รับซ่อม และ ติดตั้ง ตู้สวิทซ์บอร์ดปั้ม Vertical Turbine Pump Switchboard CONTROLLER

รับซ่อม และ ติดตั้ง ตู้ควบคุมปั้ม JOCKEY PUMP SwithBoard Controller

รับซ่อม และ ติดตั้ง ตู้คอนโทรลปั้ม BOOSTER PUMP Switchboards CONTROLLER

รับซ่อม และ ติดตั้ง ตู้คอนโทรลปั้มไฟฟ้า PUMP CONTROLLER

รับซ่อม และ ติดตั้ง ตู้คอนโทรลปั้มไฟฟ้า TRANSFER PUMP CONTROLLER

รับซ่อม และ ติดตั้ง ตู้คอนโทรลปั้มไฟฟ้า SUBMERSIBLE PUMP CONTROLLER

รับซ่อม และ ติดตั้ง ตู้คอนโทรลปั้มไฟฟ้า CHILED WATER PUMP CONTROLLER

รับซ่อม และ ติดตั้ง ตู้คอนโทรลปั้มไฟฟ้า ELECTRIC FIRE PUMP CONTROLLER


โดยทีมช่าง ONE SERVICE PUMP การทำงานภายใต้มาตรฐาน อ้างอิงถึง

- มาตรฐานป้องกันอัคคีภัย ของสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย

- STM D975 – 08, Standard Specification for Diesel Fuel Oils

- NFPA 20, Standard for the Installation of Stationary Pumps for Fire Protection, 2007 Edition

วันเสาร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2553

ระบบการทำงานของเครื่องสูบน้ำดับเพลิงจะประกอบด้วย

ระบบการทำงานของเครื่องสูบน้ำดับเพลิงจะประกอบด้วย
1. เครื่องสูบน้ำดับเพลิง
2. เครื่องสูบน้ำรักษาแรงดัน(Jockey Pump)
3. ตัวขับเคลื่อน
4. แผงควบคุมการทำงาน
5. อุปกรณ์ประกอบต่างๆ

1. เครื่องสูบน้ำดับเพลิง (Fire Pump) มีหน้าที่ในการสร้างแรงดันให้กับน้ำเพื่อใช้ดับเพลิงซึ่งมีข้อกำหนดภายใต้มาตรฐาน และการทำงานที่อ้างอิง มาจากระบบป้องกันอัคคีภัย (NFPA 20)
• Horizontal Split Case Fire Pump


• End Suction Fire Pump

เป็นที่นิยมใช้ในกรณีที่ห้องเครื่องอยู่ระดับเดียวกันหรือต่ำกว่าถังน้ำ (Positive Suction Head)‏
• Vertical Turbine Fire Pumpเป็นที่นิยมใช้ในกรณี ที่ห้องเครื่องอยู่ระดับสูงกว่า ถังน้ำ(Suction Lift)‏

2. เครื่องสูบน้ำรักษาแรงดัน (Jockey Pump) มีหน้าที่เป็นเครื่องสูบน้ำรักษาความดันน้ำในเส้นท่อให้คงที่ ในกรณีที่มีแรงดันน้ำในเส้นท่อตกลงถึงจุดที่กำหนดโดยใช้ระบบควบคุมการเดินเครื่องอัตโนมัติ ตามที่ได้ตั้งค่าแรงดันน้ำในระบบไว้โดยใช้อุปกรณ์ Pressure Switch ที่ติดตั้งอยู่ใน Controller
• Regenerative Turbine Pump
• Multi-Stage Vertical Centrifugal Pump
3. ตัวขับเคลื่อน มีหน้าที่ขับเคลื่อนเครื่องสูบน้ำ โดยทั่วไปจะมีหลายชนิด แต่ในที่นี้จะกล่าวถึง 2 ชนิดด้วยกัน คือ เครื่องยนต์ดีเซล และมอเตอร์ไฟฟ้า
เครื่องยนต์ ดีเซล

มอเตอร์ไฟฟ้า
4. แผงควบคุมการทำงาน (Controller)ในที่นี้จะกล่าวถึงมี 2 แบบด้วยกัน คือ
1. แบบ Electric Fire Pump Controller สำหรับควบคุมการทำงานของมอเตอร์ ชนิด
Low, Medium &High Voltage Type of Controller
• Direct on Line (D-O-L)‏
• Star-Delta
• Auto Transformer
• Solid State ....Etc.

2. แบบ Diesel Fire Pump controller ชนิด 12 Volt & 24 Volt สำหรับควบคุมการทำงาน
ของเครื่องยนต์ ลักษณะการทำงานโดยทั่วไปประกอบด้วย
• Dual Auto Battery Charger
• Alarm
• Pressure Switch
• Crank On Both Dual Battery
• Safety Shut Down
• Etc....
 5. อุปกรณ์หลักที่ใช้ประกอบในการติดตั้งระบบท่อน้ำของเครื่องสูบน้ำดับเพลิง

                     Flow Meter (Venturi)‏         Flow Metter (Annubar)
                                         Enclose Waste Cone
                                 Main Relief Valve(Angle Type)
                     Main Relief Valve(Globe Type)                       
 Automatic Air Vent
                                                      
                                         Wafer Check Valve
 Flow Switch

Supervisory Switch
Butterfly Valve
With Supervisory Switch
OS.&Y Gate Valve
 Pressure Gauge
Pressure Snubber
Gate Valve
 Globe Valve
 Needle Valve